เรื่องเด่น ฝึกอภิญญาสมาบัติ เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Apinya Smabut, 28 กรกฎาคม 2021.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,634





    mind.jpg
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ธรรมานุกรม

    ฤทธิ์


    ธรรมาธิบายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    และพระอรหันต์สมัยพุทธกาล เข้าใจง่าย ชัดเจน เชื่อมโยง

    ----------------
    (๑) ฤทธิ์ ชื่อว่า ด้วยความสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น
    ฤทธิ์ มี ๑๐
    ภูมิแห่งฤทธิ์มี ๔
    บาทแห่งฤทธิ์มี ๔
    บทแห่งฤทธิ์ มี ๘
    มูลแห่งฤทธิ์มี ๑๖
    ฤทธิ์ ๑๐ เป็นไฉน
    ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๑
    ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ ๑
    ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ๑
    ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ๑
    ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๑
    ฤทธิ์ของพระอริยะ ๑
    ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม ๑
    ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ๑
    ฤทธิ์ที่สำเร็จแต่วิชา ๑
    ฤทธิ์ ชื่อว่า ด้วยความสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๆ ๑
    ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน
    ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดวิเวก ๑
    ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข ๑
    ตติยฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข ๑
    จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งความไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ๑
    ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์
    บาท ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขาร ๑
    เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยความเพียรและปธานสังขาร ๑
    เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขาร ๑
    เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร ๑
    บาท ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์... เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ฯ
    บท ๘ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน
    ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ฉันทะไม่ใช่สมาธิ สมาธิ ไม่ใช่ฉันทะ ฉันทะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง
    ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิริยะไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิริยะ วิริยะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง
    ถ้าภิกษุอาศัยจิตได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต จิตไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่จิต จิตเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง
    ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิมังสาไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิมังสา วิมังสาเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง
    บท ๘ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์... เพื่อความแกล้ว กล้าด้วยฤทธิ์ ฯ
    มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน
    จิตไม่ฟุบลง ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา (จิตไม่หวั่นไหว)
    จิตไม่ฟูขึ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา
    จิตไม่ยินดี ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ...
    จิตไม่มุ่งร้าย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะพยาบาท...
    จิตอันทิฐิไม่อาศัย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิ...
    จิตไม่พัวพัน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะฉันทราคะ...
    จิตหลุดพ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ...
    จิตไม่เกาะเกี่ยว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส...
    จิตปราศจากเครื่องครอบงำ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความครอบงำแห่งกิเลส...
    เอกัคคตาจิตย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลสต่าง ๆ...
    จิตที่กำหนดด้วยศรัทธา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา...
    จิตที่กำหนดด้วยวิริยะ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน...
    จิตที่กำหนดด้วยสติ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท...
    จิตที่กำหนดด้วยสมาธิ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ...
    จิตที่กำหนดด้วยปัญญา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา
    จิตที่ถึงความสว่างไสว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความมืดคืออวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา
    มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์
    ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยการอธิษฐาน
    คำว่า คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ คือ
    ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปรกติเป็นคนเดียว ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ นึกให้เป็นร้อยคน พันคนหรือแสนคนแล้ว อธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นหลายคน ก็เป็นหลายคน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต แม้คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถก รูปเดียวเป็นหลายรูปก็ได้ ฉะนั้น คำว่า
    หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ คือ
    ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปรกติหลายคน ย่อมนึกให้เป็นคนเดียว แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นคนเดียว ก็เป็นคนเดียว ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถก หลายรูปเป็นรูปเดียวก็ได้ ฉะนั้น
    คำว่า ทำให้ปรากฏก็ได้ คือ
    ที่อันอะไร ๆ ปิดบังไว้ ทำให้ไม่มีอะไร ปิดบังให้เปิดเผยก็ได้
    คำว่า ทำให้หายไปก็ได้ คือ
    ที่อันอะไร ๆ เปิดไว้ ทำให้เป็นที่ปิดบัง มิดชิดก็ได้
    คำว่า ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ คือ
    ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อากาศกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงฝา กำแพง ภูเขา แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นที่ว่างก็ย่อมเป็นที่ว่าง ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ย่อมทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
    ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต ย่อมทะลุฝา กำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่แจ้ง เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ย่อมไปในที่ที่ไม่มีอะไร ๆ ปิดบังกั้นไว้ไม่ติดขัด ฉะนั้น
    คำว่า ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ คือ
    ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อาโปกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงแผ่นดินแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นน้ำ ก็เป็นน้ำ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นผุดขึ้น ดำลงในแผ่นดินได้
    ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ผุดขึ้นดำลงในน้ำได้ ฉะนั้น
    คำว่า เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ คือ
    ท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงน้ำ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินไปบนน้ำไม่แตกได้
    ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ เดินไปบนแผ่นดินไม่แตกได้ ฉะนั้น
    คำว่า เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ คือ
    ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงอากาศแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน
    ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินบ้าง ยืนบ้าง นอนบ้าง ในอากาศกลางหาวเหมือนนกก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดิน ฉะนั้น
    คำว่า ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นด้วยฝ่ามือก็ได้ คือ
    ท่านผู้มีฤทธิ์ในศาสนานี้ ถึงความชำนาญแห่งจิต นั่งหรือนอนก็ตาม นึกถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า พระจันทร์ พระอาทิตย์ จงมีที่ใกล้มือ ก็ย่อมมีที่ใกล้มือ
    ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น นั่งหรือนอนอยู่ ก็ตามย่อมลูบคลำสัมผัสพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยฝ่ามือได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ย่อมลูบคลำสัมผัสรูปอะไร ๆ ที่ใกล้มือได้ ฉะนั้น
    คำว่า ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ คือ
    ท่านผู้มีฤทธิ์ผู้ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ถ้าประสงค์จะไปยังพรหมโลก
    ก็อธิษฐานที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ว่า
    จงเป็นที่ใกล้ ก็เป็นที่ใกล้
    อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า
    จงเป็นที่ไกล ก็เป็นที่ไกล
    อธิษฐานของมากให้เป็นของน้อยว่า
    จงเป็นของน้อย ก็เป็นของน้อย
    อธิษฐานของน้อย ให้เป็นของมากว่า
    จงเป็นของมาก ก็เป็นของมาก
    ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นได้ด้วยทิพจักษุ
    ย่อมฟังเสียงพรหมนั้นได้ด้วยทิพโสตธาตุ
    ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วยเจโตปริยญาณ
    ท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ปรากฏ ก็น้อมจิตอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งกาย ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ปรากฏอยู่
    ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ก็น้อมกายอธิษฐานกายด้วยสามารถแห่งจิต ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่ปรากฏ
    ท่านผู้มีฤทธิ์นิรมิตรูปอันสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ไว้ข้างหน้าของพรหมนั้น
    ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์เดินอยู่ รูปกายนิรมิตก็เดินอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ รูปกายนิรมิตก็ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ รูปกายนิรมิต ก็นั่งอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นอนอยู่ รูปกายนิรมิตก็นอนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์บังหวนควันอยู่ รูปกายนิรมิตก็บังหวนควันอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ ให้ไฟลุกโพลงอยู่ รูปกายนิรมิตก็ให้ไฟลุกโพลง ณ ที่นั้น
    ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรมอยู่ รูปกายนิรมิตก็กล่าวธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาอยู่ รูปกายนิรมิตก็ถามปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น
    ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์อันรูปกายนิรมิตถามปัญหาแล้วก็แก้ รูปกายนิรมิตอันท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาแล้วก็แก้อยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนสนทนาปราศรัยอยู่กับพรหมนั้น รูปกายนิรมิตก็ยืนสนทนาปราศรัยกับพรหมนั้นอยู่ ณ ที่นั้น ท่านผู้มีฤทธิ์ทำกิจใด รูปกายนิรมิตก็ทำกิจนั้น ๆ นั่นแล
    นี้ฤทธิ์ที่อธิษฐาน เป็นดังนี้
    ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ เป็นไฉน
    พระเถระนามว่าอภิภู เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุทราบชัด ท่านแสดงธรรมด้วยกายที่ปรากฏก็มี ด้วยกายที่ไม่ปรากฏก็มิ ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่างไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่วงไม่ปรากฏก็มี
    ท่านละเพศ ปรกติแล้วแสดงเพศกุมารบ้าง แสดงเพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้าง แสดงเพศยักษ์บ้าง แสดงเพศอสูรบ้าง แสดงเพศพระอินทร์บ้าง แสดงเพศเทวดาบ้าง แสดงเพศพรหมบ้าง แสดงเพศสมุทรบ้าง แสดงเพศภูเขาบ้าง แสดงเพศป่าบ้าง แสดงเพศราชสีห์บ้าง แสดงเพศเสือโคร่งบ้าง แสดงเพศเสือเหลืองบ้าง แสดงพลช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง แสดงพลรถบ้าง แสดงพลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่าง ๆ บ้าง
    นี้เป็นฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ
    ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    เปรียบเหมือนบุรุษชักไส้ออกจาก หญ้าปล้อง เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้เป็นอย่างหนึ่ง แต่ไส้ก็ออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
    อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษชักดาบอกออกจากฝัก เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบเป็นอย่างหนึ่ง ฝักเป็นอย่างหนึ่ง แต่ดาบก็ออกจากฝักนั่นเอง
    อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษเอางูออกจากกระทอเขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้งู นี้กระทอ งูเป็นอย่างหนึ่ง กระทอเป็นอย่างหนึ่ง แต่งูก็ออกจากกระทอนั่นเอง ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    นี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ
    ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณเป็นไฉน
    ความละนิจจสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนิจจานุปัสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
    ความละสุขสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุกขานุปัสนา
    ความละอัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนัตตานุปัสนา
    ความละความเพลิดเพลิน ย่อมสำเร็จได้ด้วยนิพพิทานุปัสนา
    ความละราคะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิราคานุปัสนา
    ความละสมุทัย ย่อมสำเร็จได้ด้วยนิโรธานุปัสนา
    ความละความยึดถือ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
    ท่านพระพักกุละ ท่านพระสังกิจจะ ท่านพระภูตปาละ มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
    นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
    ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิเป็นไฉน
    ความละนิวรณ์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
    ความละวิตกวิจาร ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุติยฌาน เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
    ความละปีติ ย่อมสำเร็จได้ด้วยตติยฌาน...
    ความละสุขและทุกข์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยจตุตถฌาน...
    ความละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ...
    ความละอากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ...
    ความละวิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ...
    ความละอากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
    ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสัญชีวะ ท่านพระขาณุโกณฑัญญะ อุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
    นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
    ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่
    ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่
    ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่
    ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่
    ถ้าหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
    ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
    ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
    ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างไร
    ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในสิ่งที่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างนี้
    ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
    ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตาหรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งทั้งไม่น่าปรารถนาและน่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
    ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างไร
    ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในสิ่งทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างนี้
    ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูล และในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
    ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
    ฟังเสียงด้วยหู...
    ดมกลิ่นด้วยจมูก...
    ลิ้มรสด้วยลิ้น...
    ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
    รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
    นี้ฤทธิ์ของพระอริยะ
    ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรมเป็นไฉน
    นกทุกชนิด เทวดาทั้งปวง มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวก มีฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม
    นี้ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม
    ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญเป็นไฉน
    พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ตลอดจนพวกปกครองม้าเป็นที่สุด
    นี้เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
    ฤทธิ์ของโชติยคฤหบดี ฤทธิ์ของชฎิลคฤหบดี ฤทธิ์ของเมณฑกคฤหบดี ฤทธิ์ของโฆสิตคฤหบดี ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญมาก ๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
    นี้ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
    ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชาเป็นไฉน
    พวกวิชชาธรร่ายวิชชาแล้วย่อมเหาะไปได้ แสดงพลช้างบ้าง พลม้าบ้าง พลรถบ้าง พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่าง ๆ บ้าง ในอากาศกลางหาว
    นี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชา
    ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๆ อย่างไร
    ความละกามฉันทะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จเพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๆ
    ความละพยาบาท ย่อมสำเร็จได้ด้วยความไม่พยาบาท...
    ความละถีนมิทธะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา...
    ความละกิเลสทั้งปวง ย่อมสำเร็จได้ด้วยอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๆ
    ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆ อย่างนี้
    ฤทธิ์ ๑๐ ประการเหล่านี้
    (๒) ฤทธิ์สำเร็จได้เพราะเจริญอิทธิบาท
    ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้นยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาลจักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔
    สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบันยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔
    (๒) ฤทธิ์บริบูรณ์ได้เพราะเจริญอิทธิบาท
    ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จบริบูรณ์แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้นยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักยังฤทธิ์ให้สำเร็จบริบูรณ์ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้นจักยังฤทธิ์ให้สำเร็จได้บริบูรณ์ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จบริบูรณ์ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้บริบูรณ์ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔
    (๔) พระโมคคัลลานะมีฤทธิ์มากเพราะได้เจริญอิทธิบาท ๔
    ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญธรรมเหล่าไหน เพราะได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน
    ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔
    (๕) ผู้มีฤทธิ์น้อมธาตุให้เป็นสิ่งต่างๆ ได้
    ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ เมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้กองโน้นให้เป็นดินได้ เพราะที่กองไม้โน้นมีปฐวีธาตุ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ พึงอาศัยน้อมใจถึงให้เป็นดินได้
    ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจเมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้โน้นให้เป็นน้ำได้ เพราะที่กองไม้โน้นมีอาโปธาตุ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ พึงอาศัยน้อมใจถึงให้เป็นน้ำได้
    ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจเมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้โน้นให้เป็นไฟได้ เพราะที่กองไม้โน้นมีเตโชธาตุ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ พึงอาศัยน้อมใจถึงให้เป็นไฟได้
    ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจเมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้โน้นให้เป็นลมได้ เพราะที่กองไม้โน้นมีวาโยธาตุ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ พึงอาศัยน้อมใจถึงให้เป็นลมได้
    ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจเมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้โน้นให้เป็นของงามได้ เพราะที่กองไม้โน้นมีสุภธาตุ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจพึงอาศัยน้อมใจถึงให้เป็นของงามได้
    ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจเมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้โน้นให้เป็นของไม่งามได้ เพราะที่กองไม้โน้นมีอสุภธาตุ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจพึงอาศัยน้อมใจถึงให้เป็นของไม่งามได้
    อ้างอิง :
    (๑) ปัญญาวรรค อิทธิกถา พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๖๗๙-๖๙๔ หน้า ๓๓๐-๓๓๗
    (๒) ปเทสสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๑๑๑๒ หน้า ๒๖๙-๒๗๐
    (๓) สัมมัตตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๑๑๑๔ หน้า ๒๗๐
    (๔) โมคคัลลานสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๑๑๕๘-๑๑๕๙ หน้า ๒๘๒
    (๕) ทารุกขันธสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๓๑๒ หน้า ๓๑๐
    อ่านต่อ https://uttayarndham.org/node/4585



    temp_hash-fddf911d62e74f4b7b123cca6a203601-jpg.jpg
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    เมื่อพระธรรมวินัย ทรงบัญญัติกรอบทำให้พระภิกษุ ไม่สามารถแสดงฤทธิ์ได้สะดวก แม้ด้วยเจตนากุศลก็ตาม ด้วยว่า ธรรมและวินัย คือตัวแทนพระศาสดา ที่ต้องเคารพ

    พวกเราเหล่าฆราวาสผู้รักพระศาสนา ไมว่าจะดำเนินตามมรรคแห่งอริยสาวกเพื่อการพ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้ หรือ เป็นผู้ดำเนินมรรคแห่งโพธิสัตว์ เพื่อยังประโยชน์สูงสุดอันมากมาย ยาวนาน ในการรื้อขนเพื่อนร่วมวัฏฏะสงสาร ควรศึกษาเรื่องฤทธิ์ตามกำลังสามารถ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อพระศาสนาและชีวิตทั้งมวล ในฐานะอุบาสก อุบาสิกา ผู้สะดวกในการกระทำฤทธิ์โดยเป็นการผ่อนเบาภาระ และเอื้อเฝื้อครูอาจารย์ผู้เป็นสงฆ์ที่ต้องอยู่ในกรอบแห่งพระธรรมวินัย
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...