เรื่องเด่น มุดลงใต้ดินไปชมเทคโนโลยีใหม่ ‘แผ่นดินไหว’ แค่ไหนก็เอาอยู่!!

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 20 มกราคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655


    ความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้จากการเกิด “แผ่นดินไหว” ทำให้ “ญี่ปุ่น” ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ พยายามหาทางป้องกันเพื่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากแผ่นดินไหวน้อยที่สุด เพราะ “แผ่นดินไหว” คือภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน เวลาใด มันคือความน่ากลัว ดังนั้น มนุษย์จึงต้องหาทางอยู่กับมันให้ได้!!

    “ชินวะ กรุ๊ป” กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม และขนส่งขนาดใหญ่ของโอซาก้าที่มีประวัติยาวนานมากกว่า 130 ปี ได้นำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิตของผู้อยู่อาศัย


    e0b895e0b989e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b89be0b88ae0b8a1e0b980e0b897e0b884e0b982e0b899e0b982e0b8a5.jpg

    “ชินวะ กรุ๊ป” พาเรามุดลงชั้นใต้ดินของอพาร์ทเมนท์ Splendide Hanaten กลางเมืองโอซาก้า อพาร์ทเมนท์นี้มีจุดเด่นในเรื่อง “โครงสร้างรับแผ่นดินไหว” ซึ่งวิศวกรที่นี่ยืนยันว่า “ไหวแรงแค่ไหนก็รับมือได้” ซึ่งขณะนี้สามารถป้องกันได้สูงสุดถึง 9 ริกเตอร์ แต่จะมากกว่า 9 ริกเตอร์หรือไม่ยังไม่มีรายงานรองรับ เนื่องจากยังไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงมากกว่านี้นั่นเอง

    b895e0b989e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b89be0b88ae0b8a1e0b980e0b897e0b884e0b982e0b899e0b982e0b8a5-1.jpg

    ระบบรองรับแผ่นดินไหวสมัยใหม่ ที่มักจะถูกเรียกว่า Isolated Based หรือ Based Isolation ซึ่งมีบริษัทก่อสร้างพัฒนาหลายบริษัท แต่ที่นี่เลือกใช้จานหมุนเหล็กภายใต้ระบบ NS-SSB ที่หากมีแผ่นดินไหวตั้งแต่ 5 แมกนีจูดขึ้นไป ชั้นล่างๆจะรู้สึกถึงแรงสั่นมากกว่าชั้นบนเล็กน้อย แต่ถ้าต่ำกว่า 5 จะไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนเลย ที่สำคัญคือของในห้องจะไม่หล่นพังเสียหาย แตกต่างจากระบบเดิมคือทำให้โครงสร้างแข็งแรงยึดกับเปลือกโลก โครงสร้างไม่พังแต่ของในห้องหล่นเมื่อมีแผ่นดินไหว

    ระบบ NS-SSB ที่นี่มีทั้งหมด 12 เสา 12 จานหมุน เมื่อแผ่นดินไหวจบตึกจะปรับไปสู่ตำแหน่งเดิม ตรงข้ามกับโครงสร้างแบบในอดีตที่เชื่อมทั้งพื้นล่างและอาคารกับเปลือกโลก ที่อาจจะเสียหายจนคืนรูปเดิมไม่ได้หากแผ่นดินไหวหนักมากๆ

    b895e0b989e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b89be0b88ae0b8a1e0b980e0b897e0b884e0b982e0b899e0b982e0b8a5-2.jpg

    ระบบจานหมุน NS-SSB เป็นอีกหนึ่ง Earth quark Prevention Construction System แนว Isolation Based ที่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น หากเกิดแผ่นดินไหว จานหมุนที่อยู่แทรกกลางระหว่างเสาคอนกรีตที่เชื่อมฐานรากกับอาคาร จะทำหน้าที่สั่นไปมาเพื่อให้อาคารทรงตัวอยู่ได้

    e0b895e0b989e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b89be0b88ae0b8a1e0b980e0b897e0b884e0b982e0b899e0b982e0b8a5.png b895e0b989e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b89be0b88ae0b8a1e0b980e0b897e0b884e0b982e0b899e0b982e0b8a5-1.png

    ขณะที่ระบบเสาเข็มแบบเดิม เวลาเกิดแผ่นดินไหวจะเคลื่อนที่ทั้งตึก แต่ในระบบ Base Isolated Building จะมั่นคงกว่าไม่เอนซ้ายขวา ตามแรงของแผ่นดินไหว ทำให้ตึกกลับไปที่เดิมไม่เอียงหรือเอนออก

    สำหรับต้นทุนของระบบ Base Isolated Building จะแพงกว่าระบบปกติเพียง 5 – 10% เท่านั้น เนื่องจากไม่จำเป็นต้องสร้างเสาเข็มให้หนาอีกแล้ว เลยสามารถหักลบต้นทุนของระบบกับโครงสร้างได้

    ทั้งนี้ คุณลักษณะ 4 ข้อของ Base isolated system

    1. ตัวอาคารแยกออกจากฐานราก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวแรงสั่นสะเทือนไม่ส่งไปยังอาคารโดยตรง
    2. สามารถรับน้ำหนักของอาคารได้เมื่อเกิดแผ่นดินไหวและคงไว้ซึ่งความมั่นคง
    3. ช่วยลดการสั่นสะเทือนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
    4. ตัวอาคารสามารถเคลื่อนกลับมายังตำแหน่งเดิมได้เมื่อแผ่นดินไหวสิ้นสุดลง
    b895e0b989e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b89be0b88ae0b8a1e0b980e0b897e0b884e0b982e0b899e0b982e0b8a5-3.jpg
    เข็มสกัดเหล็ก

    นอกจากอุปกรณ์ Base Isolator แล้ว ในชั้นใต้ดินมีการติดตั้งเข็มสกัดเหล็กไว้เพื่อบันทึกการเคลื่อนตัวของแผ่นดินไหวสำหรับนำไปใช้วิเคราะห์การทำงานหลังแผ่นดินไหวสิ้นสุดด้วย สาเหตุที่ต้องใช้ระบบแมนนวลอย่างเข็มสกัดแผ่นเหล็ก ไม่ใช่เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเพราะระหว่างเกิดแผ่นดินไหวมักจะมีเหตุไฟฟ้าดับ ทำให้ต้องใช้อุปกรณ์แมนนวล

    ทั้งยังมีการติดตั้งระบบท่อชั้นใต้ดินเหนือฐานรากด้วยท่ออ่อนเพื่อป้องกันการแตก รวมถึงสายไฟที่โยงใยในชั้นใต้ดินจะมีการเผื่อความยาวไว้มากเผื่อกรณีที่มีการสั่นสะเทือนจะทำให้สายไฟมีโอกาสขาดยากขึ้นอีกด้วย

    ขอบคุณที่มา
    https://www.thebangkokinsight.com/91322/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มกราคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...